วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Asean

                                                                            Asean


                                           


                    เมื่อกล่าวถึงคำว่าอาเซียน หลายคนคงรับทราบแล้วว่าในปีพุทธศักราช 2558 หรือคริสศักราช 2015 ประเทศไทยและ อีก 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรวมกันเพื่อความเป็นหนึ่งและมั่นคงทางภูมิภาค และที่ได้ยินเรียกกันบ่อยครั้ง เป็นภาษาอังกฤษว่า "AEC” คืออะไร ขออธิบายเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าอาเซียนดังนี้
                  อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ,ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดย อาเซียน            ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ 1.ไทย 2.สิงคโปร์ 3.มาเลเซีย 4.ฟิลิปปินส์ 5.อินโดนีเซีย
                   คำขวัญอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)
                   สัญลักษณ์อาเซียน เป็น รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพ และความเป็นหนึ่งในวงกลม ซึ่งสีแดง สีขาว สีน้ำเงิน แสดงถึงความเป็นเอกภาพมีอักษรคำว่า "asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และ ความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดงหมายถึง ความกล้าหาญ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
                   อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ คือ 1.การเมืองความมั่นคง (Socio-Cultural Pillar) 2.เศรษฐกิจ (Asean Economic Community:AEC) 3.สังคมและวัฒนธรรม (Political and Security Pillar)ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีพัฒนาการไปด้วยกัน โดยเหตุที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงแต่ AEC ซึ่งก็คือด้านเศรษฐกิจหรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คงเป็นเพราะว่าเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ดูจะจับต้องได้มากกว่าเรื่องอื่นๆ อีกทั้งในการขับเคลื่อนส่วนใหญ่แล้วที่มักจะก้าวไปเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ก็คือภาคธุรกิจ ดังนั้น คนอาจจะรับรู้เรื่อง AEC มากกว่ามิติความร่วมมืออื่นๆ ของอาเซียน ในด้านมิติอื่นๆด้วยเพื่อให้รู้ทันและวางแผนเพื่อการปรับตัวให้อยู่อย่างมีความสุข
               เราต้องหันมาให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกันเองมากขึ้น ว่าตอนนี้เขาทำอะไรกัน มีพัฒนาการในเรื่องใด มีความแข็งแกร่งและมีจุดอ่อนในเรื่องไหน เพราะเมื่อรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 ประเทศในอาเซียนจะมีการติดต่อกันมากขึ้น
                ในอนาคต เศรษฐกิจอาเซียนจะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป
         20130706120636


 ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)


สกุลเงินของประเทศอาเซียน

โพสต์21 ก.พ. 2557 06:31โดยMickey Mild

        AEC (ASEAN Economic Community) หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นคำที่ได้ยินเคียงคู่มากับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อยู่เสมอ เพราะ AEC นั้นเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนนั่นเอง โดยจะมีความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของทั้ง 10 ประเทศในประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ลองมาดูกันหน่อยว่า เพื่อนบ้านแต่ละประเทศนั้นเขามีการใช้เงินสกุลอะไร อัตราแลกเปลี่ยนเท่าไหร่และหน้าตาของธนบัตรเป็นอย่างไร

    ประเทศไทย 


ธนบัตร 500 บาท

        ประเทศไทย ใช้สกุลเงิน “บาท” (Thai Baht : THB) โดยเหรียญกษาปณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 9 ชนิด คือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น ส่วนธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันและมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มี 5 ชนิด คือ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท

    ประเทศบรูไน 


        ธนบัตร 10,000 ดอลลาร์บรูไน


        ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม หรือ เนการา บรูไน ดารุสซาลาม ใช้สกุลเงิน “ดอลลาร์บรูไน” (Brunei Dollar : BND) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ดอลลาร์บรูไน เท่ากับประมาณ 25 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 20 ดอลลาร์, 25 ดอลลาร์, 50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 500 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์

    ประเทศกัมพูชา



ธนบัตร 1,000 เรียล

        ประเทศกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรกัมพูชา ใช้สกุลเงิน “เรียล” (Cambodian Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 127 เรียล เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 เรียล, 100 เรียล, 200 เรียล, 500 เรียล, 1,000 เรียล, 2,000 เรียล, 5,000 เรียล, 10,000 เรียล, 20,000 เรียล, 50,000 เรียล และ 100,000 เรียล

    ประเทศอินโดนีเซีย


ธนบัตร 100,000 รูเปียห์

        ประเทศอินโดนีเซีย หรือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้สกุลเงิน “รูเปียห์” (Indonesian Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์

    ประเทศลาว

ธนบัตร 50,000 กีบ


        ประเทศลาว หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้สกุลเงิน “กีบ” (Lao Kip : LAK) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1,000 กีบ เท่ากับประมาณ 4 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ และ 50,000 กีบ

ประเทศมาเลเซีย

ธนบัตร 100 ริงกิต

        ประเทศมาเลเซีย ใช้สกุลเงิน “ริงกิต” (Malaysian Ringgit : MYR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ริงกิต เท่ากับประมาณ 10 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ริงกิต, 5 ริงกิต, 10 ริงกิต, 20 ริงกิต, 50 ริงกิต และ 100 ริงกิต

ประเทศพม่า

ธนบัตร 1,000 จ๊าด

        ประเทศพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้สกุลเงิน “จ๊าด” (Myanmar Kyat : MMK) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 26 จ๊าด เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 ปยา, 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด , 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด

ประเทศฟิลิปปินส์

ธนบัตร 1,000 เปโซ

        ประเทศฟิลิปปินส์ หรือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใช้สกุลเงิน “เปโซ” (Philippine Peso : PHP) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1.40 เปโซ เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 เปโซ, 50 เปโซ, 100 เปโซ, 200 เปโซ, 500 เปโซ และ 1,000 เปโซ

ประเทศสิงคโปร์

ธนบัตร 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

        ประเทศสิงคโปร์ หรือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ใช้สกุลเงิน “ดอลลาร์สิงคโปร์” (Singapore Dollar : SGD) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เท่ากับประมาณ 25 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 2 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์

ประเทศเวียดนาม

ธนบัตร 100,000 ด่ง

        ประเทศเวียดนาม หรือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใช้สกุลเงิน “ด่ง” หรือ “ดอง” (Vietnamese Dong : VND) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 652 ด่ง เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 ด่ง 2,000 ด่ง 5,000 ด่ง 10,000 20,000 ด่ง 50,000 ด่ง 100,000 ด่ง 200,000 ด่ง และ 500,000 ด่ง


20130717152110



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น